ข่าวสาร ความรู้/การเลี้ยงสุกร >> อากาศเปลี่ยนแปลง ภูมิตก โรคฉวยโอกาสซ้ำเติม 13 ม.ค. 2559 09:20:08 |
สเตร็ปโตค็อคคัส ซูอิส : เชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาไขสมองอักเสบในสุกร อาจจะโผล่ขึ้นมาทำให้เกิดปัญหาขึ้นในฟาร์มท่านได้บ่อยขึ้นในช่วงสภาวะอากาศแบบนี้ ช่วงนี้ฝนตกอากาศชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้หมูเครียด หมูบางตัวอาจจะมีปัญหาภูมิคุ้มกันตก เชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส ซูอิส : เชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาไขสมองอักเสบในสุกร อาจจะโผล่ขึ้นมาทำให้เกิดปัญหาขึ้นในฟาร์มท่านได้บ่อยขึ้นในช่วงสภาวะอากาศแบบนี้ได้นะครับผม แนวทางควบคุมป้องกันและแก้ไข คือ 1.พยายามทำให้แม่หมูบนเล้าคลอด : ให้แม่นมดีที่สุด ลูกแรกคลอดมาให้ได้รับน้ำเหลืองไวที่สุด และมากที่สุดตั้งแต่แรกคลอดเลย โดยเฉพาะในช่วง 0-6 ชั่วโมงแรกนับจากเกิด ***ปัญหาแม่ป่วยก่อนและหลังคลอด ทำให้แม่นมแห้ง ลูกหมูแรกคลอดไม่ได้รับนมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็วและเพียงพอตั้งแต่แรกคลอด จะส่งผลในเกิดปัญหาโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส ซูอิส ในลูกหมูบนเล้าคลอด หรือลูกหมูอนุบาลช่วงหลังหย่านมมาได้สูงขึ้นในฟาร์มท่านได้นะครับ ***การแก้ไขและป้องกันโรคๆนี้...ต้องเริ่มต้นที่เล้าคลอด เรื่องการได้รับภูมิคุ้มกันที่ดีของลูกหมูจากการได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่อย่างเต็มที่และเร็วที่สุด คือ ความจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ในฟาร์มสุกรของท่าน 2.ลูกหมูอนุบาลหลังหย่านมมาใหม่ๆ : ยังต้องการอากาศที่อบอุ่นและอุณหภูมิในเล้าที่ค่อนข้างสูง การปล่อยให้ลูกหมูโดนฝนสาด ลมโกรก หรือปล่อยลูกหมูหนาวเย็นมากๆในช่วงกลางคืน ลูกหมูนอนสุมกัน ไม่มีไฟกก ไม่มีสิ่งปูรองนอน ให้นอนกับพื้นปูนของโรงเรือนโดยตรง ยิ่งจะทำให้ลูกหมูหนาวเย็นยิ่งขึ้น ปัญหาโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส ซูอิส หรือแม้แต่ปัญหาท้องเสียหลังหย่านม ปัญหาโรคบวมน้ำจากเชื้ออี.โคไล อาจจะโผล่ขึ้นมาให้เจอได้เยอะขึ้นในช่วงอากาศแบบทุกวันนี้นะครับ "ฝนตก ฟ้าปิด ครึ้มๆทั้งวัน อากาศชื้นๆ กลางคืนหนาวเย็น กลางวันร้อนจัด อุณหภูมิระหว่างวันแตกต่างกันมากๆ ระวัง....อย่ามองข้ามความปลอดภัยนะคร๊าบบบบบ ***นอกจาก 2 วิธีในการป้องกันที่ว่ามานั้นแล้ว หากพบว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียหายหรือสูญเสียจากโรคต่างๆเหล่านั้น ในช่วงสภาวะอากาศแบบนี้ : การลงยาผสมในอาหารควบคุมไว้เป็นโปรแกรมเฉพาะในช่วงเวลาสถานะการณ์เสี่ยงๆแบบนี้ เป็นเรื่องที่เหมาะสมและควรกระทำอย่างยิ่งนะครับผม - ป้องกัน : ใช้ยาผสมอาหาร อาจจะเลือกใช้ยา Amoxycillin 50% ผสมในอาหาร ในขนาด 300 ppm(หรือ Amoxycillin 50% ขนาด 600 กรัมต่ออาหาร 1,000 กิโลกรัม) หรือใช้Biomethazine-240 360 ppm(หรือBiomethazine-240 ขนาด 1.5 กิโลกรัมต่ออาหาร 1000 กิโลกรัม)ให้กินติดต่อกันไว้ 7-10 วันทุกๆต้นเดือน - รักษาในกรณีป่วยและแสดงอาการแล้ว : ใช้Excenel RTU ขนาด 1 ซี.ซี ต่อน้ำหนักตัวหมู 10 กิโลกรัม วันละเข็ม 2-3 วันติดต่อกัน และใช้เด็กซ่าขนาด 2 ซี.ซีต่อตัวเฉพาะในเข้มแรกเท่านั้น(ฉีดคนละข้าแผงคอของตัวหมูกันนะครับ ไม่ให้ผสมยา 2 ตัวนี้ในขวดเดียวกัน แล้วฉีดทีเดียว เพื่อความสะดวกของคนฉีดนะครับ) - ป้องกัน : ใช้ยาผสมอาหาร อาจจะเลือกใช้ยา Amoxycillin 50% ผสมในอาหาร ในขนาด 300 ppm(หรือ Amoxycillin 50% ขนาด 600 กรัมต่ออาหาร 1,000 กิโลกรัม) หรือใช้Biomethazine-240 360 ppm(หรือBiomethazine-240 ขนาด 1.5 กิโลกรัมต่ออาหาร 1000 กิโลกรัม)ให้กินติดต่อกันไว้ 7-10 วันทุกๆต้นเดือน - รักษาในกรณีป่วยและแสดงอาการแล้ว : ใช้Excenel RTU ขนาด 1 ซี.ซี ต่อน้ำหนักตัวหมู 10 กิโลกรัม วันละเข็ม 2-3 วันติดต่อกัน และใช้เด็กซ่าขนาด 2 ซี.ซีต่อตัวเฉพาะในเข้มแรกเท่านั้น หากเกิดปัญหาขึ้น : ในการรักษานั้น ยาฉีดตัวนี้ดีที่สุดและให้ผลในการออกฤทธิ์ในการรักษาไวที่สุดสำหรับโรคนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่เพิ่งเริ่มจะเจออาการชักเกิดขึ้นแล้ว : Excenel RTU กรณีเริ่มเห็นเจอชักแล้ว Amoxycilline 15%injection เอาไม่อยู่ เอาไม่ทันนะครับ เพราะค่าTmax ของค่าMIC ของAmoxycilline ประมาณ 1 ชั่วโมง ของExcenel RTU ประมาณ 15-30 นาที ส่วนตัวเด็กซ่า จะเป็นยาที่ลดการอักเสบและการบวมของสมองได้ดีมากๆ ***แต่มีข้อห้าม คือ ห้ามใช้บ่อย เพราะมันมีผลข้างเคียง คือ ยาตัวนี้มันจะกดภูมิคุ้มกัน ใช้แค่เข็มเดียวร่วมกันกับที่ฉีดExcenel RTU ในเข็มแรก คนละข้างแผงคอเท่านั้น!Dexa : ใช้เฉพาะเข็มแรกเข็มเดียว เพื่อลดการอักเสบบวมของสมอง ที่เป็นสาเหตุของการชัก |