การควบคุมและป้องกันพยาธิไส้เดือนในสุกร
ฝ่ายวิชาการ บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า จำกัด
ในปัจจุบัน แม้ว่าระบบการเลี้ยงสุกรจะมีการพัฒนามากขึ้น เปลี่ยนจากการเลี้ยงสุกรบนพื้นดิน (ในอดีต) มาเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต พื้นลวด หรือพื้นสแลต แต่ปัญหาการติดพยาธิก็ยังคงพบในอัตราที่สูงอยู่อยู่ ดูเหมือนว่าปัญหาการติดพยาธิจะเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับความใส่ใจจากเกษตรกร
อาจเนื่องมาจากการติดพยาธิไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตายของสุกร แต่การติดพยาธินั้นสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตของสุกรได้ เช่น กระทบต่อการเจริญเติบโตทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรลดลง (fCR สูง) เป็นต้น บางรายอาจนำไปสู่การตัดหรือคัดทิ้ง ส่วนของอวัยวะที่พบรอยโรค ได้แก่ จุดฝ้าขาวที่ตับ (milk spots) ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นบทความนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพยาธิไส้เดือน วงชีวิต และผลกระทบต่อตัวสุกร รวมถึงประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิ โปรแกรมยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสมและการจัดการด้านสุขาภิบาล เพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาพยาธิไส้เดือนในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ประกอบการมากขึ้น
พยาธิไส้เดือนในสุกร (Ascaris suum) เป็นพยาธิในทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 50-75%) จัดเป็นพยาธิตัวกลมที่มีขนาดใหญ่ ดังแสดงในรูปที่ 1 ตัวเมียมีความยาว 20-40 เซนติเมตร และตัวผู้มีความยาว 15-25 เซนติเมตร
พยาธิไส้เดือนเพศเมียที่โตเต็มวัย จะสามารถผลิตไข่ได้ 1-2 ล้านฟองต่อวัน ไข่พยาธิไส้เดือนมีเปลือกที่ทนทาน ทำหน้าที่ในการปกป้องไข่พยาธิจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง และสารเคมีใช้ในการฆ่าเชื้อเป็นต้น จึงทำให้ไข่พยาธิ สามารถมีชีวิตได้ถึง 7 ปี หรือนานกว่านั้น ไข่พยาธิจะออกจากตัวสุกรโดยผ่านทางอุจจาระ ซึ่งไข่พยาธิที่ผ่านออกมานี้จะอยู่ในระยะไม่ติดต่อ จนกระทั่งเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม คือ มีความชื้นที่เพียงพอและอุณหภูมิที่อบอุ่น ไข่พยาธิจึงจะเปลี่ยนเป็นระยะติดต่อ (ภายในมีตัวอ่อนระยะ L2 อยู่) ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์
สุกรติดพยาธิโดยการกินอาหาร น้ำที่มีการปนเปื้อนไข่พยาธิระยะติดต่อเข้าไป ไข่พยาธิสามารถแพร่กระจายได้ง่ายไปกับอาหาร น้ำ และพาหนะต่างๆ เช่น นก แมลง แมลงสาบ รองเท้าบู๊ท เป็นต้น
นอกจากนี้พบว่าลูกสุกรสามารถติดพยาธิจากการดูดนมแม่สุกรที่มีไข่พยาธิติดอยู่ บริเวณเต้านมได้เช่นกัน เมื่อสุกรกินไข่พยาธิเข้าไป เปลือกที่ห่อหุ้มอยู่จะแตกออก ตัวอ่อนระยะ L2 ที่อยู่ด้านในก็จะชอนไชผนังลำไส้เข้าสู่ระบบหลอดเลือดที่ไปยังตับ และเข้าสู่ตับ ตับอ่อนส่วนมากจะเข้าสู่ตับภายใน 2-3 วัน หลังจากกินไข่พยาธิระยะติดต่อเข้าไปที่ตับอ่อนระยะ L2 จะเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนระยะ L3 ต่อจากนั้นต่ออ่อนระยะ L3 จะเข้าสู่หัวใจและปอด (ตัวอ่อนจะเข้าสู่ปอดในวันที่ 4-7 หลังจากกินไข่พยาธิระยะติดต่อเข้าไป) ในวันที่ 8-10 ตัวอ่อนจะออกจากปอดและขอนไชเข้าสู่หลอดลมเล็กๆ สุกรจะไอและขับตัวอ่อนพยาธิออกมาสู่บริเวณหลอดลม และช่องปากจากนั้นสุกรจะกลืนตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปอีกครั้ง ประมาณวันที่ 10-15 ตัวอ่อนระยะ L3 จะกลับเข้าสู่ลำไส้ และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะ L4 และตัวอ่อนในระยะ L4 จะเจริญต่อไป เป็นตัวอ่อนระยะ L5 จะมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัย) จากนั้นพยาธิจะเจริญ และพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในลำไส้เล็กของสุกร ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่สุกรได้รับไข่พยาธิระยะติดต่อเข้าไปจนกระทั่งเจริญเป็นพยาธิตัวเต็มวัยที่สามารถสร้างไข่พยาธิได้ ใช้เวลาประมาณ 40-35 ดังภาพวงจรชีวิตพยาธิไส้เดือนในรูปที่ 3
อาการทางคลินิกของการติดพยาธิไส้เดือนจะสัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ของตัวอ่อนผ่านอวัยวะโดยสุกรจะแสดงอาการไอแบบแห้งๆ หายใจลำบาก ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลด ขนหยาบ อุณหภูมิร่างกายและอัตราการหายใจสูงขึ้น พยาธิตัวเต็มวัยที่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กจะแย่งสารอาหารที่จำเป็นของสุกร รบกวนกระบวนการดูดซึม สารอาหาร ส่งผลให้สุกรมีอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร รวมทั้งพยาธิตัวเต็มวัยบางตัวอาจเคลื่อนที่ไปอุดตันท่อน้ำดี ซึ่งทำให้สุกรเกิดภาวะดีซ่านได้
ตัวอ่อนพยาธิจะทำลายเนื้อเยื่อตับ เป็นสาเหตุให้เกิดฝี และ Milk spots ดังแสดงในรูปที่ 4 ซึ่งรอยโรคนี้จะหายไปหลังจาก 6 สัปดาห์ที่เกิดการเคลื่อนที่ของตัวอ่อน เนื่องจากตับมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ปอดไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เหมือนตับ เมื่อพยาธิชอนไชเข้าสู่เส้นเลือดเกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด ส่งผลให้สูญเสียความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อปอดไป จึงอาจเป็นสาเหตุโน้มนำทำให้ปอดอักเสบและทำให้สุกรมีความไวต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนต่างๆ ได้เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เป็นต้น เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีการสัมผัสกับอากาศภายนอกโดยตรง จึงมีโอกาสสัมผัสกับฝุ่นละออง ซึ่งมีการปนเปื้อนแบคทีเรียและไวรัสได้ง่าย และเกิดการระคายเคืองจากแก๊สต่างๆ เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอ่อนพยาธิอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดลมเล็กๆ ได้ด้วย
มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการทำลายปอดและตับ กับการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิไส้เดือน โดยทำการศึกษาในสุกรขุนที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ พบว่าฟาร์มสุกรที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจเรื้อรังมีรอยโรค milk spots ร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิไส้เดือน กับการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า การเคลื่อนที่ของพยาธิไส้เดือนมีผลกระทบต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสุกร โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มสุกรออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มสุกรที่ไม่มีการติดพยาธิไส้เดือน กลุ่มทดลองคือ กลุ่มที่มีการติดพยาธิโดยสุกรได้รับไข่พยาธิ 2 ครั้ง/สัปดาห์ ระหว่างการทดลองในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการทดลองสุกรทุกตัวจะได้รับการทำวัคซีนไมโคพลาสม่าและอีก 3 สัปดาห์ต่อมามีการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อ M.hyopneumoniae ในกระแสเลือดพบว่าสุกรในกลุ่มควบคุมมีภูมิคุ้มกันต่อ M.hyopneumoniae ทุกตัว (100%) แต่ในกลุ่มสุกรที่ติดพยาธิ (กลุ่มทดลอง) มีภูมิคุ้มกันต่อ M.hyopneumoniae เพียง 33% ของสุกรที่ได้รับพยาธิเข้าไป หลังจากนั้นสุกรทั้ง 2 กลุ่มจะถูกทำให้ติดเชื้อ M.hyopneumoniae และในช่วงก่อนส่งสุกรเข้าโรงฆ่าจะมีการตรวจภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดต่อ M.hyopneumoniae อีกครั้ง พบว่าสุกรที่อยู่ในกลุ่มติดพยาธิมีภูมิคุ้มกันต่อ M.hyopneumoniae เพียง 78% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีภูมิคุ้มกัน 100%
จะเห็นได้ว่าผลที่เกิดจากการติดพยาธินั้นไม่เพียงแต่กระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของสุกร ประสิทธิภาพการใช้อาหาร มูลค่าซากและอวัยวะเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสุกรโดยทำให้สุกรมีความไวต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่ท้องเสีย หรือโรคในระบบทางเดินหายใจมากกว่าสุกรปกติ นอกจากนี้การพบปัญหาการติดพยาธิยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงการมีการสุขาภิบาลที่ไม่ดีของฟาร์มด้วย
การมีโปรแกรมการถ่ายพยาธิที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญในการช่วยให้สุกรมีสุขภาพที่ดี โดยในระยะแรกของช่วงชีวิตสุกรจะมีการป้องกันการติดพยาธิจากแม่สุกรไปยังลูกสุกรมีระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อการทำวัคซีนที่ดี เช่น วัคซีนมัยโคพลาสม่า และวัคซีน PRRS เป็นต้น ซึ่งในการกำหนดโปรแกรมยาถ่ายพยาธิจะต้องพิจารณาถึง prepatent period ของพยาธิแต่ละชนิด เนื่องจากพยาธิแต่ละชนิดจะมี prepatent period ประมาณ 6-8 สัปดาห์ (บางรายงานกล่าวว่ามี prepatent period อย่างน้อย 35 วัน) จึงควรมีการให้ยาถ่ายพยาธิทุก 4-6 สัปดาห์ เพื่อฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยที่อยู่ในลำไส้เล็ก ป้องกันการวางไข่ และฆ่าตัวอ่อนที่กำลังเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ปอด เป็นต้น
นอกจากนี้ฟาร์มสามารถกำหนดโปรแกรมการถ่ายพยาธิ โดยพิจารณาถึงช่วงเวลาที่สุกรมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดพยาธิ เช่น ในกลุ่มแม่สุกรอุ้มท้อง ซึ่งมีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำได้ง่ายกว่าในโรงเรือนคลอด หรือให้ยาถ่ายพยาธิในช่วงสุกรขุน เนื่องจากการให้ยาถ่ายพยาธิเพียงครั้งเดียวในแม่สุกรก่อนคลอดไม่สามารถป้องกันการติดพยาธิในช่วงสุกรขุนได้ ซึ่งหากมีการติดพยาธิในช่วงนี้จะทำให้พบ milk spots ในช่วงท้ายที่จะส่งโรงฆ่า ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น
ในประเทศเนเธอร์แลนด์มีข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตของฟาร์มก่อน และหลังการถ่ายพยาธิด้วยยา ฟลูเบนดาโซล ผสมในน้ำดื่มให้สุกรกิน ผลที่ได้ดังแสดงในตารางที่ 1 จะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์รอยโรคที่ตับและปอดลดลงอย่างชัดเจน หลังจากกำหนดโปรแกรมการถ่ายพยาธิในสุกร
ตารางที่ 1 แสดงถึงผลผลิตของฟาร์มก่อนและหลังการถ่ายพยาธิด้วยยาฟลูเบนดาโซล
ดัชนีวัดประสิทธิภาพ | ก่อนถ่ายพยาธิ | หลังถ่ายพยาธิ |
จำนวนสุกร | 2687 | 3119 |
น้ำหนักเริ่มต้น (kg) | 27.3 | 27.6 |
ระยะเวลาเลี้ยง (วัน) | 106.7 | 107 |
น้ำหนักสุดท้าย (kg) | 112.2 | 115.6 |
น้ำหนักซาก (kg) | 85.8 | 90.6 |
% ผลผลิต | 76.4 | 78.4 |
|
| |
การจัดลำดับซาก |
|
|
%AA | 7.9 | 12.1 |
%A | 76.2 | 80.1 |
%B | 16.9 | 7.8 |
%ตับที่ไม่ผ่านการตรวจจากโรงฆ่า | 4.98 | 1.96 |
%ปอดอักเสบ | 6.1 | 3.39 |
%เยื่อหุ้มปอดอักเสบ | 27.41 | 13.71 |
(ที่มา ig international. May 2008)
ปัจจุบันมียาถ่ายพยาธิหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพและขอบเขตการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังแสดงในตารางที่ 2 ดังนั้นการเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิ คุณสมบัติของการออกฤทธิ์ รูปแบบการให้ยา ความปลอดภัยของยาถ่ายพยาธิ และมูลค่าในการรักษา
ตารางที่ 2 แสดงถึงประสิทธิภาพภายยาถ่ายพยาธิ (%พยาธิตัวเต็มวัยที่ถูกกำจัด) ระยะเวลาหยุดยา (Withdrawat time) และสัดส่วนราคาของยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดที่ใช้ผสมอาหารสุกร
ยาถ่ายพยาธิ | พยาธิ ไส้เดือน | พยาธิ เนื้อ | พยาธิ
| พยาธิ ปอริส | พยาธิ เส้นด้าย | พยาธิ ไต | ระยะหยุดยา (วัน) | สัดส่วน ราคา |
ไคดลอร์วอส (Dichionvos) |
90-100 |
95-100 |
90-100 |
0 |
60-80 |
0 |
0 |
** |
เฟนเบนดาโซล (Ferbandazode) |
92-100 |
99-100 |
94-100 |
97-99 |
ไม่คงที่ |
100 |
0 |
**** |
ไอเวอร์เมดคิน (lvemaction) |
90-100 |
86-100 |
ไม่คงที่ |
99-100 |
99-100 |
100 |
0 |
***** |
อีวามีโซล (Eevamionl) |
99-100 |
80-100 |
60-80 |
90-100 |
80-95 |
80-100 |
0 |
*** |
ปิเปอราซีน (Ouoerazine) |
75-100 |
50 |
0 |
0 |
0 |
0 |
21 |
* |
ไพแรเบเทอาร์เวล (Pyrantl tart |
96-100 |
88-100 |
0 |
0 |
0 |
0 |
1 |
* |
หมายเหตุ * คือ การเปรียบเทียบสัดส่วนของราคากับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
(กรณีมี * มาก แสดงว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง)
(ที่มา :Joumal of Seine Health and Production. November and December 2009)
สำหรับกรณีที่สภาพแวดล้อมมีการปนเปื้อนไข่พยาธิสูง สุกรมีโอกาสได้รับไข่พยาธิทุกวัน การให้ยาถ่ายพยาธิเป็นช่วงๆ อาจไม่สามารถฆ่าตัวอ่อนของพยาธิที่เคลื่อนที่ไปยังตับและปอดได้ตลอดเวลา จึงต้องให้ยาถ่ายพยาธิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาถ่ายพยาธิที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐฯ ให้สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง
เพื่อป้องกันปัญหาการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิคือ ไพแรนเทลทาร์เทรท โดยแนะนำให้ใส่ในขนาด 96 กรัมต่อตันอาหาร และควรมีระยะหยุดยา 1 วันก่อนส่งโรงฆ่า
จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของการควบคุมปัญหาพยาธิ คือ การลดการติดพยาธิและลดความเสียหายที่เกิดจากการติดพยาธิ ซึ่งการควบคุมปัญหาพยาธิไส้เดือนนั้นจะอาศัยการใช้ยาถ่ายพยาธิเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
การควบคุมปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบไปด้วย การมีโปรแกรมในการควบคุมพยาธิอย่างเหมาะสม ร่วมกับมีการจัดการและการสุขาภิบาลที่ดี เช่นการทำความสะอาดคอก อุปกรณ์การเลี้ยง รองเท้าบู๊ท
เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจมีอุจจาระที่ปนเปื้อนไข่พยาธิติดอยู่ การล้างทำความสะอาดแม่สุกรก่อนย้ายแม่สุกรขึ้นเล้าคลอด เป็นต้น ซึ่งการมีหลักการสุขาภิบาลที่ดีนั้น นอกจากจะช่วยควบคุมปัญหาพยาธิได้แล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ที่จะแพร่กระจายเข้าสู่ฟาร์มได้อีกด้วย
ที่มา : หนังสือโลกสุกร ปีที่ 14 ฉบับที่ 156 เดือนธันวาคม 2558 หน้าที่ 20-21