:: เนื้อหา ข้อมูล-ข่าวสาร-บทความ::

ข่าวสาร ความรู้/การเลี้ยงสุกร >> โรคบิดมูกเลือดในสุกร (Swine dysentery)
25 พ.ค. 2563 15:12:36

โรคบิดมูกเลือดในสุกร (Swine dysentery)

สัตวแพทย์หญิงจิรา คงครอง กลุ่มพยาธิวิทยา
สัตวแพทย์หญิงวันทนีย์ เนรมิตมานสุข กลุ่มแบคทีเรียและเชื้อรา


            โรคบิดมูกเลือดในสุกรเป็นโรคท้องร่วงชนิดติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร สุกร มี อาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นมูกเลือดปนเศษเนื้อเยื้อที่ลอกหลุด (mucohemorrhagic diarrhea) เนื่องจากลำไส้มีอาการอักเสบอย่างรุนแรง โรคนี้มักเกิดกับสุกรรุ่น สุกรขุน และสุกรพันธ์ทดแทน สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อ Serpulina (Treponemahyodysenteriae ซึ่งเป็นเชื้อที่มีลักษณะเป็นเกลียว (Spirochete) มีรายงานเกิดจากโรคนี้ครั้งแรกเมื่อ 1944 โดย Doyle ต่อมามีรายงานการระบาดทั่วโลก (Harris., 1992) โรคนี้ทำความเสียให้แก่ อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้สุกรป่วย ตาย โตช้า อัตราการแลกเนื้อต่ำ และสิ้นเปลืองเงินในการรักษา การรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ในช่วงระยะแรกของการระบาด พร้อมกับการจัดสุขภิบาลภายในฟาณ์มที่มีประสิทธิภาพจะสามารถกำจัดและควบคุมโรคนี้ได้  


อาการ  การระบาดของโรคในฝูง หรือระหว่างฝูงเป็นไปอย่างช้า ๆ ระยะการฟักตัวของโรคประมาณ 2 วัน ถึง 3 เดือน ความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ acute subacute และ chronic ขึ้นกับระยะการติดโรค แบบ subacute ในระยะแรกสุกรถ่ายเหลว มีสีเหลืองเทา เมื่อโรคยังดำเนินต่อไป อุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเทาแกมแดงปะปยด้วยมูกปนเลือด ในรายที่เป็นแบบ chronic อุจจาระมีสีดำเข็ม ลักษณะเป็นน้ำปนมูกเลือด อาการทีเห็นเด่นชัด คือท้องร่วงชนิดควบคุมไม่ได้ อุจจาระไหลเปรอะก้น และบริเวณขาหลัง กลิ่นเหม็นคาวจัด สัตว์อยู่ในสภาพขาดน้ำ (dehydration) และเยื่อเมือกทั่วร่างกายซีด เนื่องจากเสียเลือด และ ตายในที่สุด

พยาธิสภาพการเกิดโรค
เข้าสู่ร่างกายโดยการกิน เชื้อนี้ไม่ถูกทำลายโดยกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เนื่องจากถูกห่อหุ้มด้วยเมือกของอุจจาระ หลังจากนั้นจะรุกแทรกเข้าไปใน crypt ของลำไส้ใหญ่ และเพิ่มจำนวนึ้นต่อมาจะเข้าไปทำความเสียหายให้แก่ goblet cell และ enterocyte ของเยื้อเมือก ทำให้ขบบวนการย่อยและดูดซึมอาหารเสียไป (malabsorption) ผลที่ตามมาคือ สุกรเกิดอาการท้องร่วง กลไกการทำลายเซลล์ของเชื้อยังไม่ทราบแน่ชัด คือ endotoxin และ hemolysin สุกรป่วย และตาย เนื่องจากสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่เสียสมดุลการเป็นกรด–ด่าง (acid-base balance) เกิดภาวะการเป็นกรด acidosis ของร่างกาย

วิการจากผ่าซาก
สุกรมีสภาพซูบผอม เยื่อเมือกซีด ผิวหนังแห้ง และหยาบกร้าน กันและขาหลังมีอุจจาระเปรอะเปื้อน พบการอักเสบ เฉพาะในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะที่ colon ในรายที่เป็นแบบปัจจุบัน (acute) พบผนังลำไส้ใหญ่ และเยื่อแขวนลำไส้ใหญ่ (mesentery) บวมน้ำ ต่อมน้ำเหลืองของเยื่อแขวนลำไส้บวม เนื่องจากมีการอักเสบเมื่อมองจากด้านเยื่อเลื่อม (serosa) ของลำไส้ใหญ่พบบนจุดนูนสีขาวของ colonic submucosal gland ภายในลำไส้ พบเยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่หนาตัวขึ้น รอยย่นปกติ (rugose) ของเยื่อเมือกหายไป อุจจาระมีลักษณเป็นน้ำ
ในรายที่เป็นรุนแรงไม่พบการบวมน้ำของผนังลำไส้ใหญ่แล้วแต่จะพบวิการที่เยื่อเมือก โดยจะหนาขึ้น แล้วถูกปกคลุมด้วย เมือกปน fibrin, เลือด และแผ่นเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (mucofibrinous pseudo-membrane) ในรายที่เป็นเรื้อรังมากๆ จะพบวิการตายเป็นหย่อมๆ เฉพาะส่วนผิวของเยื่อเมือก (superficial necrosis) อุจจาระมีสีแดงเข้มลักษณะเป็นลิ่มเลือด และเหม็นคาวจัด

วิการทางจุลพยาธิวิทยา
วิการที่เด่นชัดจะพบในลำไส้เท่านั้น ในระยะแรกของการติดเชื้อ พบผนังลำไส้บวมเนื่องจากมีการวิการเลือดคั่ง (vascular congestion) และบวมน้ำ (edema) ในชั้น mucosa และ submucosa พบการงอกเกิด ( hyperplasia) ของ goblet cell epithelial cell บริเวณฐานของ crypt มีรูปร่างยาวกว่าปกติและติดสีเข็ม ส่วนชั้น lamina propria มี neutrophill cell จำนวนมากกว่าปกติ แทรกซึม ถ้าโรคยังดำเนินต่อไปจะพบการลอกหลุดของ epithelial cell ทำให้เกิดเป็นหย่อมเลือดออกในรายที่เป็นรุนแรง mucosal surface และ mucosal crypt ถูกปกคลุมด้วยเมือกปน fibrin และเศษเซลล์ epithelium ที่ตาย พร้อมหย่อมเนื้อตายที่ระดับผิวของ mucosa (superficial necrosis) lamina propria ถูกแทรกด้วย nuetrophill จำนวนมาก เมื่อย้อมด้วยสีพิเศษ Warthin-Starry จะพบ เชื้อ Serpulina hyodysenteriae ใน lumen และ cryct จะพบจำนวนมากในระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อ

การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
ทางพยาธิวิทยา สัตว์มีชีวิตที่มีอาการ ซากที่ไม่เาหรืออวัยวะถ้าเป็นอวัยวะให้เก็บอวัยวะ โดยเฉพาะลำไส้ที่มีการหรือไม่มีวิการ ในถุงพลาสติกติด แช่เย็นแล้วรีบส่งทันที่ หรือแช่อวัยวะใน 10 % buffered formalin ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานไม่จำเป็นต้องส่งทันที
ทางแบคทีเรีย ถ้าสัตว์ตายให้ส่งตรวจทั้งซาก หรือถ้าส่งเป็นอวัยวะภายในให้ส่งส่วนลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ หรืออาจใช้ไม้พันสำลี ป้ายผนังลำไส้ใหญ่บริเวณที่มีวิการ ส่งไม่พันสำลี นั้นแช่ใน phosphate- buffered saline หรือใน transport medium แช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ให้รองอุจจาระสด ๆ ใส่ถุงพลาสติดแช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส ส่งเพาะเชื้อ

วิธีเพาะแยกเชื้อ
เพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อเเข็งที่มีส่วนผสมของ Trypticase soy agar กับเลือ 5 % กับ Spectinomycin hydrochloride 400 ไมโครกรัม ต่ออาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ซีซี เพาะเชื้อไว้ใน anaerobic incubator เป็นเวลาอย่าง 7 วัน โดยเปิดดูเชื้อทุกวัน 2 วัน โคโลนีของเชื้อที่ขึ้นมีลักษณะเป็นฟิลม์บาง ๆและ haemmolysis การ sudculture เชื้อโดยการตัดชิ้นอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง ที่มีเชื้อขึ้น เขี่ยให้กระจายบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งใหม่ให้ทั่ว หรือ subculture เชื้อลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว [Trypticasesoy broth+10% fetal calf serum)

วิธี identifine เชื้อ S. hyodysenteria
- ตัวเชื้อเป็น gram negative bacteria มีลักษณะเป็นเกลียวหลวมๆ ประมาณ 1-2 เกลียว ขนาด 6-11 ไมโครเมตร X 0.35 ไมโครเมตร
- เชื้อสามารถเพาะขึ้นได้ ในสภาพบรรยายกาศที่ไม่มีอ๊อกซิเจน โคโนนี ของเชื้อมีลักษณะเป็นแผ่นฟิลม์บาง ๆ และ haemolysis ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีส่วน่ผสมของเลือด
- ทดสอบเชื้อโดยวิธี Growth inhibition test ด้วย hyperimmune serum
- ทดสอบเชื้อด้วยวิธี Fluouescent antibody test
- ทดสอบเชื้อด้วยวิธี Rapid slide agglutination test

การตรวจทางด้านซีรั่มวิทยาเพื่อตรวจหา antibody ของเชื้อ S. Hyodysentenriae
- Macroscopic agglutination
- Indirect fluorescent antibody
- Enzyme–linked immunosorbent assay
- Ager gel immunodiffusion test
แม่สุกรสามารถถ่ายทอด immunity ให้ลูกในช่วงที่ลูกสุกรยังดูดนมอยู่ แต่หลังหย่านม immune นั้นจะหมดไป
สุกรที่หายป่วยจากโรค Swine dysentery โดยไม่ได้ใช้ยารักษา ภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันโรคได้ แต่ยังสามารถปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระได้เรื่อย ๆ
สุกรที่เป็นโรค Swine dysentery ชนิดเฉียบพลันและหายป่วยจากการรักษาด้วยยา จะไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกันโรคได้ เมื่อหยุดการรักษาก็พร้อมที่จะติดเชื้อได้อีกถ้าบริเวณนั้นยังมีเชื้ออยู่
การทำวัคซีนในสุกรเพื่อให้มีการสร้าง immunity ได้มีการทดลองตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1983 แต่ยังไม่เป็นที่พอใจ


การป้องกันโรค
1. Quarantine การนำสุกรใหม่เข้าฟาร์ม ต้องนำมาจาก ฟาร์มที่ไม่มีประวัติของโรคนี้ ควรกักสัตว์ไว้ระยะหนึ่ง พร้อมทั้งให้ยาเพื่อกำจัดเชื้อที่บังเอิญอาจติดมากับตัว carrier ยาที่ใช้ เช่น dimetridazole, ronidazole, carbabox
2. ฟาร์มสุกรควรจะแยกออกจาอฟาร์มอื่น ๆ และควรมีการสุขาภิบาล
3. ควรกำจัดพาหนะที่เป็นตัวนำโรค เช่น หนู, นก ของ ใช้ที่เปื้อนอุจจาระสัตว์ป่วย ได้แก่ รถ, รองเท้าบู๊ต , ถุงมือ, ที่ตักอุจจาระ
4. ป้องกันและกำจัดความเครียด เช่น การไล่จับต้อนสุกร, การขนส่งระยะทางไกล ๆ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน, การเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นต้น

การกำจัดโรค
1. ควรลดความแออัดในฟาร์มสุกร
2. กำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
3. กำจัดแอ่งน้ำขังในเล้าที่เป็นตัวกักเก็บเชื้อ
4. เล้าสุกรที่ว่าควรทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อและควรมีการ fumigated
5. กำจัดโรค Swine dysentery ในสุกร ด้วยยาในขนาดที่ถูกต้องโดยคำนวนจากน้ำหนักตัว
6. นอกจากให้ยา ในสุกรแล้ว เครื่องมือ เครื่องใช้ในการเลี้ยง ในการให้อาหาร ควรทำสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ
7. ในช่วงการกำจัดเชื้อนี้ เล้าสุกรจะต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
การจะดูว่าเชื้อได้หมดไปจากฟาร์มหรือไม่ โดยการหยุดยา 3-6 เดือน ถ้าสัตว์ในฝูงไม่แสดงอาการของโรค ก็แสดงว่า เชื้อได้หมดไปจากฟาร์มนี้แล้ว


การรักษาและป้องกันโรค
- Bacitracin MD
- Carbadox
- Gentamicin Solution
- Lincomycin
- Tiamulin
- Tylosin
- Tylosin Injectabe
- Virginaimycin

บรรณานุกรม
Bibersteiw, E. L. and zee, Y.C. 1990 Treponema hyodysenteriae. In Review of Veterinary Microbiology. Blackwell Scientific Pulication, Inc. U.S.A. 122-124 .
Doyle. 1994. A vibrio associated with swine dysentery . Am.J. Vet. Res. 15 :3-5Harris, D.L. and Glock, R.D. 1992. Swine Dysentery and Spirochetal Diseases. In Disease of Swine. 7 th ed wolfe Pub. Ltd: 494-505.

ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง "โรคสำคัญที่เป็นปัญหาในระบบทางเดินอาหารสุกร" สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 2541




Close-คลิ๊กที่นี่เพื่อปิดหน้านี้ครับ