:: เนื้อหา ข้อมูล-ข่าวสาร-บทความ::

ข่าวสาร ความรู้/การเลี้ยงสุกร >> ทางออก ทางรอด เกษตรกรเลี้ยงหมู
10 ส.ค. 2564 14:40:09

หมูตกพูด ปันพูด แบ่งพูด ทางออก ทางรอด ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในสถานการณ์ราคาสุกรตกต่ำ

ภาษาอีสานวันละคำ
ตกพูด - ปันพูด - แบ่งพูด

พูด ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงการส่งเสียงเจรจา แต่พูดเป็นคำนาม ตามความหมายในภาษาอีสานนั้นหมายถึง แบ่งของเป็นส่วนๆ เพื่อแบ่งปันกัน เรียกว่า การตกพูด แบ่งพูด ปันพูด ในอดีตนั้นชาวบ้านอีสานมักออกไปล่าสัตว์ในป่า ยิงเก้ง กวาง หมูป่า ฯลฯ โดยชวนพรรคพวกเพื่อนบ้านไปด้วยกัน บ้างก็ไปสามวันเจ็ดวัน หรือออกไปล่าเป็นเดือนก็มี เมื่อยิงสัตว์ได้แล้ว สัตว์ทุกตัวถือว่าเป็นสมบัติส่วนกลางที่ทุกคนพึงได้รับส่วนแบ่ง ซึ่งส่วนแบ่งนี้จะได้รับเท่าเทียมกัน



เฉพาะตัวศัพท์ที่เรียกว่า "พูด" นั้น เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนย่อย ๆ ในปริมาณที่เท่าเทียมกัน หรือเป็นหน่วยย่อย (unit) ซึ่งถูกแบ่งจากส่วนรวม แต่เมื่อจะใช้ในความหมายเป็นคำกริยา มักใช้ว่า ตกพูด หรือ แบ่งพูด หรือ แพ่งพูด หรือ หยายพูด คำใดคำหนึ่ง แต่ละคำมีนัยยะที่มีรายละเอียดของความหมายและการใช้ต่างกันเล็กน้อย แต่แก่นความหมาย คือ ประสงค์ให้เกิดการแบ่งปัน ดังนั้นผลของการแบ่งพูดจึงมีได้หลายลักษณะ เช่น ถ้าแบ่งปลาที่ร่วมหามาด้วยกันโดยการใช้ตอกร้อย "พูด" จะมีสถานภาพเป็น พวงปลา ถ้าแบ่งเนื้อด้วยการห่อด้วยใบตอง "พูด" จะมีสถานภาพเป็น ห่อซิ้น ตามแต่กรณี

การตกพูด ไม่ใช่กฎระเบียบ แต่เป็นธรรมเนียมของการแบ่งปัน











Close-คลิ๊กที่นี่เพื่อปิดหน้านี้ครับ