กิจกรรมอื่นๆ >> สุกรพันธุ์ปากช่อง5 23 ก.ย. 2558 09:12:38 |
สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายในการผลิตสุกรขุน โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตามโครงการบูรณาการ “โครงการการปรับปรุงพันธุกรรมสุกรโดยการสร้างพันธุ์สุกรฝูงยอดเยี่ยมเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายในการผลิตสุกรขุน” กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จพัฒนาพันธุ์สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 เพื่อการผลิตสุกรขุน ชูคุณสมบัติเด่น โตเร็ว ปริมาณเนื้อแดงสูง แข็งแรง และเลี้ยงง่าย นายสัตวแพทย์นิรันดร เอื้องตระกูลสุข รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์ ได้วิจัย และพัฒนาสุกรพันธุ์ปากช่อง 5 ให้มีลักษณะเด่น คือ มีปริมาณเนื้อแดงสูง แข็งแรง และเลี้ยงง่าย เพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านพันธุ์สัตว์ ให้แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง กว่า 6 ปี เพื่อเพิ่มโอกาส และทางเลือกให้เกษตรกรในการนำมาใช้ประโยชน์ ไปสู่การเพิ่มกำไร หรือลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 เป็นสุกรที่พัฒนาเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) ได้จากการรวมลักษณะโตเร็วจากสุกรพันธุ์ดูร็อค และลักษณะการให้เนื้อแดงสูงจากสุกรพันธุ์เปียแตรง โดยมีสัดส่วนพันธุกรรมสุกรพันธุ์ดูร็อค 62.5 และสุกรพันธุ์เปียแตรง 37.5 ทำให้ได้สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 ที่โตเร็ว ให้ปริมาณเนื้อแดงมาก ไขมันสันหลังบาง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาพันธุ์ให้มีอัตราการเจริญเติบโตและมีลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดี คือ มีอัตราการเจริญเติบโต 852 กรัมต่อวัน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร 2.57 ความหนาไขมันสันหลัง 0.68 เซนติเมตร พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน 37.14 ตารางเซนติเมตร เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง 39 เปอร์เซ็นต์ รูปร่างลักษณะภายนอกเป็นมัดกล้ามเนื้อเด่นชัด เหมาะใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายเพื่อผลิตสุกรขุนที่โตเร็ว และให้เนื้อแดงมาก สุกรพ่อพันธุ์สุดท้ายปากช่อง 5 มีความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางเศรษฐกิจเหล่านี้ไปยังรุ่นลูกซึ่งก็คือสุกรขุนได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากการนำพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในฟาร์มเกษตรกรพบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจ สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 ในระดับสูง เนื่องจากสุกรโตเร็ว รูปร่างสมส่วน ในรูปแบบสุกรขุนที่เกษตรกรต้องการ ให้ปริมาณเนื้อแดงมาก พ่อค้ารับซื้อสุกรขุนเพื่อนำไปชำแหละ ก็มีความพึงพอใจในส่วนของซากสุกร สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายในการผลิตสุกรขุน โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตามโครงการบูรณาการ “โครงการการปรับปรุงพันธุกรรมสุกรโดยการสร้างพันธุ์สุกรฝูงยอดเยี่ยมเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายในการผลิตสุกรขุน” ในปี 2549 ถึง 2551 และได้รับงบประมาณวิจัยจากกรมปศุสัตว์ตามโครงการการศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางเศรษฐกิจของสุกรพันธุ์ปากช่อง 5 ในช่วงปีงบประมาณ ปี 2552-2554 รวม ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย พัฒนา สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 รวม 6 ปี "สุกรปากช่อง 5" พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย ได้จากการรวมพันธุกรรมเด่นๆ ของสุกร 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ "ดูร็อค" ที่มีลักษณะโตเร็ว และพันธุ์ "เปียแตรง" ที่มีปริมาณเนื้อแดงมาก โดยมีสัดส่วนพันธุกรรมพันธุ์ดูร็อค 62.5 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เปียแตรง 37.5 เปอร์เซ็นต์ จนได้สุกรพันธฺ์ปากช่อง 5 ที่มีลักษณะเด่นคือ โตเร็ว อัตราการเจริญเติบโตดี, ให้ปริมาณเนื้อแดงมาก ไม่ต้องใช้สารเร่งเนื้อแดง, มีไขมันสันหลังบาง, ลำตัวยาว, รูปร่างภายนอกเป็นมัดกล้ามเนื้อเด่นชัด และที่สำคัญไม่มียีนเครียด ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดลักษณะเหล่านี้ไปยังรุ่นลูก ทำให้ได้สุกรขุนอย่างสม่ำเสมอ สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 เป็นสุกรที่พัฒนาเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) ได้จากการรวมลักษณะโตเร็วจากสุกรพันธุ์ดูร็อค และลักษณะการให้เนื้อแดงสูงจากสุกรพันธุ์เปียแตรง โดยมีสัดส่วนพันธุกรรมสุกรพันธุ์ดูร็อค 62.5 และสุกรพันธุ์เปียแตรง 37.5 ทำให้ได้สุกรพันธุ์ปากช่อง 5 ที่โตเร็ว ให้ปริมาณเนื้อแดงมาก ไขมันสันหลังบาง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาพันธุ์ให้มีอัตราการเจริญเติบโตและมีลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดี คือ มีอัตราการเจริญเติบโต 852 กรัมต่อวัน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร 2.57 ความหนาไขมันสันหลัง 0.68 เซนติเมตร พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน 37.14 ตารางเซนติเมตร เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง 39 เปอร์เซ็นต์ รูปร่างลักษณะภายนอกเป็นมัดกล้ามเนื้อเด่นชัด เหมาะใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้ายเพื่อผลิตสุกรขุนที่โตเร็ว และให้เนื้อแดงมาก สุกรพ่อพันธุ์สุดท้ายปากช่อง 5 มีความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางเศรษฐกิจเหล่านี้ไปยังรุ่นลูกซึ่งก็คือสุกรขุนได้อย่างสม่ำเสมอ |