2015-01-27
เรื่องความเครียดของลูกหมูในช่วงหลังหย่านม ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดขึ้นมาร่างกายของหมูจะเกิดการหลั่งสารตัวหนึ่งออกมาซึ่งเรียกว่าสาร "คอร์ติซอล-Cortisol" ซึ่งสารตัวนี้จะส่งผลให้เกิดภาวะ 1.การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย(Immunosuppressive Effect) ซึ่งจะมีผลทำให้ลูกหมูติดเชื้อและป่วยได้ง่ายขึ้น ผลกระทบตัวนี้มีความชัดเจนในแม่หมูช่วงก่อนและหลังการคลอดช่วง 1-3 วันแรกด้วยนะครับผม 2.การเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารของลูกหมูหลังหย่า ทำให้ความสามารถในการย่อยและดูดซึมสารอาหารผิดปกติไป ผลกระทบในข้อนี้จะมีความชัดเจนและส่งผลเสียตามมาเป็นอย่างมากในลูกหมูช่วงหลังหย่านม เพราะโดยปกติแล้ว ลูกหมูช่วงหลังหย่านมมาใหม่ๆระบบย่อยอาหารยังพัฒนาและเจริญได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทั้งระบบลำไส้และระบบของเอนไซม์ที่เป็นสารที่เป็นสารคัดหลั่งออกมาจากระบบทางเดินอาหารเพื่อออกมาย่อยอาหารนั้นก็ยังไม่พัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ ขนาดแม่หมูช่วงก่อนและหลังการคลอดใหม่ๆเจอฤทธิ์ของสารคอร์ติซอลตัวนี้เข้าไป ยังทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ไม่ค่อยอยากกินอาหารกันเลย หลังคลอดมาใหม่ๆช่วง 1-3 วันแรกหลังการคลอด แต่เนื่องจากสภาพของระบบทางเดินอาหารของแม่หมูมันพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่มากแล้ว ผลกระทบในเรื่องนี้จึงเกิดในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นเอง ซึ่งต่างจากพวกลูกหมูหลังหย่านมใหม่ๆโดยสิ้นเชิง เดี๋ยวรายละเอียดในเรื่องนี้ ผมค่อยจะยกมาคุยกันอีกภาคหนึ่งทีหลังโดยเฉพาะเลยนะครับ เพราะมันจะมีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาท้องเสียหลังหย่านมและปัญหาโรคบวมน้ำหรืออีดีม่าตามมาเลยทีเดียว เดี๋ยวค่อยมาคุยกันโดยละเอียดอีกทีว่ากลไกการเกิดโรคมันเป็นอย่างไร ซึ่งตรงนี้ล่ะเมื่อนำเอากลไกการออกฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์แต่ละตัวของ 3 ประสาน-สูตรโจ๊กเข้ามาจัดการกับปัญหา มันจึงเป็นคำตอบที่ลงตัวในการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้นได้พอดี ดังนั้นมันจึงเป็นคำตอบให้ท่านได้ทราบเลยว่า ทำไมเมื่อท่านใช้ 3 ประสาน-สูตรโจ๊กในการจัดการกับปัญหาเหล่านั้นแล้ว ผลการใช้มันจึงให้ผลดีเป็นที่พอใจเป็นอย่างมากกับหลายๆฟาร์มที่ได้ลองใช้มาแล้ว และในขณะนี้ฟาร์มใหญ่ๆหลายๆฟาร์มก็จัดเข้าเป็นโปรแกรมป้องกันและควบคุมปัญหาโรคและความสูญเสียเหล่านั้น เป็นโปรแกรมประจำในหลายๆฟาร์มกันแล้ว สำหรับโปรแกรม 3 ประสาน-สูตรโจ๊ก ในลูกหมูตั้งแต่หลังหย่านมจนถึงอายุ 10 สัปดาห์-นับจากเกิด
****วันนี้ เรามารู้และมาเข้าใจว่ามันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในลูกหมูอนุบาลหลังหย่านมที่ส่งผลให้เกิดความเครียดและการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นมาบ้างกันก่อนดีกว่านะครับผม
*****ภาพเหตุการณ์ความเป็นเปลี่ยนในลูกหมูอนุบาลหลังหย่านม หรือในหมูที่หย่านมมาลงขุนใหม่ๆในระบบการเลี้ยงแบบ 2-Sites System ที่สิ่งให้เกิดความเครียดเกิดขึ้นกับลูกหมูเหล่านี้ คือ....... 1.ความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนอาหาร จากนมแม่ที่แทบจะไม่ต้องย่อยอะไรมากมาย แทบจะดูดซึมและนำไปใช้ได้เลย ต้องมากินอาหารเม็ดอาหารแข็ง ที่มีสารทำให้เกิดการระคายเคืองของลำไส้ ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ ย่อยและดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ไม่ดี อาหารที่เหลือที่ในช่วงนี้อาหารจะมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนในสูตรอาหารอยู่สูงมาก(22-23%โปรตีน) โปรตีนสูงๆ...ย่อยได้และดูดซึมนำไปใช้ได้ดีนั้นมีประโยชน์มากๆ แต่หากตรงข้าม มันจะส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำให้ลำไส้เป็นด่าง ทำให้แบคทีเรียที่ก่อโรคที่มีอยู่ในร่างกายโตได้ดี ทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย หรือโรคบวมน้ำหรืออีดีม่าตามมา(เกิดอย่างไง แบบใหน เดี๋ยวค่อยมาว่ากันต่ออีกทีนะครับผม)
2.ความเครียดที่เกิดจากการที่จะต้องแยกจากแม่หลังหย่านม : สิ่งนี้ผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์และสังเกตพฤติกรรมของลูกหมูหลังหย่านมจะเห็นภาพต่างๆเหล่านี้ได้ เช่น ลูกหมูจะร้องหาแม่ ซึม ไม่ค่อยกินอาหาร ในช่วงหลังจากที่หย่านมใหม่ๆ
3.ความเครียดจากการเปลี่ยนที่อยู่และสภาพแวดล้อมใหม่ๆที่ไม่คุ้นเคย : สิ่งนี้ผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีแม่หมูไม่มากนัก ไม่จำเป็นต้องรีบใช้ซองคลอดหลังจากที่หย่านม พยายามปรับลดความเครียดของลูกหมูหลังหย่าในเรื่องนี้ คือ แยกแม่ไปแต่ลูกยังเลี้ยงอยู่ในซองคลอดต่อไปอีกซักพัก 4-5 วันหรือ 1-2 อาทิตย์กันเลยทีเดียว แต่ฟาร์มใหญ่ๆทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเขาต้องรีบใช้ซองคลอดให้คุ้มค่าที่สุด ดังนั้นวันที่หย่านม...แม่ไปทาง ลูกไปทาง เพื่อที่จะได้ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อและพักซองคลอด เพื่อรองรับแม่ใหม่ที่จะเข้ามาใช้ซองคลอด ****ตรงนี้ถ้าเตรียมการเรื่องการจัดการโรงเรือนเพื่อรับลูกหย่านมมาใหม่ๆไม่ดี ปล่อยให้ลูกหมูหนาวเย็น หรือลมโกรก ฝนสาด ครานี้...เรื่องใหญ่จะตามมาเลยนะครับผม 4.ความเครียดที่เกิดจากการรวมฝูง : ครานี้ล่ะหลายๆท่านผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์ คงจะได้เห็นลูกหมูนักสู้บ่อยๆจนชินตาอยู่นะครับ กัดกัน ฟัดกัน เพื่อแย่งความเป็นใหญ่ บางที่ลายพร้อย เลือดสาดไปทั้งตัวทีเดียว 5.ไม่ใช่เรื่องของความเครียดโดยตรง แต่ส่งผลทำให้ลูกหมูป่วยได้ง่ายขึ้นเช่นกัน และสำคัญมากๆ คือ ช่วงอายุ 4-6 สัปดาห์-นับจากเกิด เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันจากแม่ที่มาสู่ตัวลูกหมูนั้น อยู่ในช่วงที่มันลดลงและหมดไป ทำให้ลูกหมูในช่วงอายุดังกล่าว ติดเชื้อและก็ป่วยได้ง่ายขึ้น
*****ทั้งหมด ทั้งมวล คือ ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลูกหมูอนุบาลหลังหย่านม ที่จะส่งผลให้เกิดความเครียดและเจ็บป่วยกับลูกหมูช่วงอายุนี้ได้ง่ายขึ้นกันแล้วนะครับผม *****เรื่องหลายเรื่องเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยระบบการจัดการฟาร์ม เรื่องบางเรื่องเราสามารถควบคุมป้องกันและแก้ไขได้ที่ต้นตอของปัญหา เพื่อลดผลเสียหรือผลกระทบที่จะเกิดไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งเรื่องหลักเรื่องใหญ่ในเรื่องนี้ก็คือ "เรื่องของอาหารการกินของลูกหมู"นั่นเอง ซึ่งตรงจุดนี้...เราสามารแก้ได้ หรือช่วยได้ ด้วย 3 ประสาน-สูตรโจ๊ก
|